ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้น่ะค่ะ เรามีความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับมาแบ่งปันกันชมและเรียนรู้/strong>>

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การละเล่นเด็กไทย

การละเล่นของเด็กไทย
1. การเล่นว่าว (CHUG WAO)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
เอาเชือกว่าวสายยาวผูกกับสายซุง แล้วให้คนส่งว่าวไปยืนโต้ลม ห่างจากผู้ชักสายว่าว ประมาณ 4-5 เมตร ตั้งหัวว่าวขึ้นรอ พอลมมากก็ส่งว่าวขึ้นไป คนชักว่าวจะกระดูกและผ่อนสายว่าวจนว่าวขึ้นสูง ติดลมบน จึงถือไว้นิ่งๆ หรือบังคับให้ว่าวส่ายไปมา
ว่าวธรรมดาไม่ต้องใช้ป่านพิเศษ แต่ถ้าเป็นว่าวแข่งขัน ตัวว่าวเอาชนะแพ้กัน จะใช้ป่านคมทำสายว่าว วิธีทำป่านคม คือ เอาเศษแก้วมาบดให้ละเอียด เคี่ยวกับแป้งเปียก หรือกาว และนำมารูดตามสายว่าวที่ขึงตึง ทิ้งไว้ให้แห้งก็จะเป็นสายป่านคม
2. เดินกะลา (DERN KALA)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น
เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 1 วา ร้อยกะลามะพร้าว 2 อัน แล้วผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง 2 เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) เมื่อเริ่มเล่น ทุกคนยืนอยู่ที่เส้น พอได้ยินเสียงสัญญาณให้รีบเดินไปที่เส้นชัย ใครถึงก่อนถือว่าชนะ
3. ตี่จับ (TEE CHUB)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
แบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดยเลือกพวกของตนคนหนึ่งเป็นคนเข้าไปตี่ คนตี่จะออกเสียง "ตี่" หรือ "หึ่ม" เข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้าม ในขณะเดียวกันฝ่ายตรงข้ามต้องคอยยึดตัวไม่ให้กลับเข้าแดนของตนได้ จนกว่าจะขาดเสียงผู้นั้นต้องมาเป็นเชลยของฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าสามารถหนีกลับเข้าแดนตนได้ คนที่ถูกแตะจะกี่คนก็ตามต้องไปเป็นเชลยสลับกัน เมื่อมีฝ่ายของตนเป็นเชลย ผู้ที่ตี่คนต่อไปต้องพยายามช่วยพวกของตนกลับมาให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามต้องคอยกันไม่ให้แตะกันได้ ถ้าแตะกันได้เชลยจะได้กลับแดนของตน เล่นกันเช่นนี้จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมดตัวผู้เล่นก่อน ฝ่ายชนะมีสิทธ์จะให้ฝ่ายแพ้ทำอะไรก็ได้
4. ขี่ม้าโยนบอล (KHEE MA YON BALL)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องครบคู่
วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆ กัน ตั้งวงกลมแล้วเลี้ยงคู่ต่อคู่ ฝ่ายแพ้จะถูกฝ่ายชนะขี่หลัง แต่ละคู่ยืนห่างกัน 3 - 5 เมตร ผู้ที่ขี่หลังจะโยนลูกบอลส่งให้กับฝ่ายที่ถูกขี่หลัง ต้องไม่กระดุกกระดิกเวลาที่ฝ่ายขี่โยนลูกบอล ถ้าฝ่ายถูกขี่กระดุกกระดิกพยายามให้ลูกบอลตก ฝ่ายขี่จะเอาลูกบอลเคาะศรีษะได้ ถ้าฝ่ายขี่รับลูกบอลไม่ได้ จะต้องรีบลงจากหลังวิ่งหนี ฝ่ายถูกขี่จะหยิบลูกบอลขว้างได้ ฝ่ายขี่ถ้าขว้างไม่ถูกจะต้องถูกขี่ใหม่อีก แต่ถ้าขว้างถูกจะได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายขี่แทน
5. อีกาฟักไข่ (E-KA FUK KHAI)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
ใช้ผลไม้หรืออะไรก็ได้ สมมุติว่าเป็นไข่ และเขียนวงกลมลงบนพื้นเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 4 ฟุต 1 วง และอีกขาอยู่ในวงแรกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วางไข่กำหนดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่งเป็นกายืนในวงกลมใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ ป้องกันไข่ โดยมีกติกาการเล่น ดังนี้
1. ผู้มีหน้าที่หยิบ (แย่ง) ไข่ เข้าไปในวงกลมไม่ได้
2. ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ต้องระวังมิให้อีกาตีถูกมือ หรือแขนของตน ซึ่งล่วงล้ำเข้าไปในวงกลมได้
3. ถ้าแย่งไข่ไปจากอีกาได้หมด ให้ปิดตาอีกา แล้วเอาไข่ไปซ่อนให้อีกาตามหาไข่ ถ้าพบไข่ที่ผู้เล่นคนใดเป็นคนซ่อนผู้นั้นต้องเปลี่ยนเป็นกาแทน
6. เก้าอี้ดนตรี (KAO - E DONTRI)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น
ผู้เล่นทุกคนยืนเป็นวงหลังเก้าอี้ เมื่อเพลงขึ้นทุกคนต้องรำ เมื่อเพลงหยุดตอนใด ทุกคนต้องรีบนั่งเก้าอี้ คนที่เหลือแย่งไม่ทันเพื่อน ต้องออกจากการแข่งขัน กรณีที่แย่งกันนั่งพร้อมกัน 2 คน เก้าอี้ตัวเดียวกัน ตัดสินไปว่าใครนั่งก่อนให้เริ่มใหม่ เล่นกันต่อไปจนเหลือคนสุดท้าย ก็จะเป็นผู้ชนะเงื่อนไขจำนวนเก้าอี้ต้องน้อยกว่า ผู้เล่น 1 ตัว ทุกครั้ง เช่น ถ้ามีผู้เล่น 4 คน ต้องมีเก้าอี้ 3 ตัว
7. ซ่อนหาหรือโป้งแปะ (SON HA OR PONG PAE)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
จับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อหาว่าใครจะเป็นคนหาก่อน เมื่อได้แล้วก็ปิดตา คนอื่นๆ ไปซ่อน คนปิดตาถาม "เอาหรือยัง" ถ้าผู้ซ่อนคนใด หรือหลายคนร้องว่า "ยัง" ก็ยังเปิดตาไม่ได้ รอจนกว่าผู้ซ่อนจะร้องว่า "เอาละ" จึงเปิดตาได้และค้นหาผู้ซ่อน เมื่อหาพบต้องส่งเสียงดังๆ เพื่อให้รู้ว่าพบใครคนหนึ่งแล้ว ผู้ซ่อนทั้งหลายก็ออกมาจากที่ซ่อน ถ้าเล่นโป้งแปะ จะต้องร้องว่า "โป้ง….(ชื่อผู้ที่พบ)" ถ้าผู้ซ่อนถึงตัวผู้หา และร้องว่า "แปะ" ก่อน ผู้นั้นต้องเป็นต่อไป ผู้เล่นจะต้องซ่อนคนเดียว ที่เดียวกันจะซ่อนมากกว่า 1 คนไม่ได้
8. ดมดอกไม้ (DOM DOK MAI)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
แขวนดอกไม้ให้ห้อยอยู่ในระดับที่ตรงกับจมูกของคนที่ถูกปิดตา จับสลากเรียงลำดับเสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน เล่นหลัง คนที่เริ่มเล่นก่อนจะต้องถูกปิดตา แล้วให้ผู้ที่จะถูกปิดตาเดิน 5-6 ก้าว จากจุดที่แขวนดอกไม้ หยุดแล้วหันหน้ามาทางดอกไม้ เพื่อเอาผ้าผูกตา จับหมุน 3 รอบ แล้วหันหน้าให้ตรงกับดอกไม้ปล่อยให้เดินตามกลิ่นดอกไม้ ให้ใช้จมูกอย่างเดียว ห้ามใช้มือควานหา ผู้เล่นมีสิทธิ์เล่นได้ 2 ครั้ง เมื่อครั้งแรกดมไม่ถูก ผู้ดูคนหนึ่งพาตัวผู้ดมดอกไม้ไปยืนที่ดอกไม้ให้ดมดอกไม้อีกครั้ง จากนั้นจึงให้เดินอออกจากดอกไม้ 5 ก้าว ให้หันกลับไปทางดอกไม้อีก ถ้าดมดอกไม้ถูกก็ชนะ คนต่อไปก็เล่นตามลำดับ
9. กระโดดเชือกขาเดี่ยว (KBA DODE CHUAG KHA DEO)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น
เชือกยาวขนาดพอตัวผู้เล่นจับปลายเชือกทั้งสองข้างแกว่งไปข้างหน้า กระโดดข้ามทีเดียว 2 ขา หรือทีละขาก็ได้ ถ้ากระโดดไปเหยียบเชือกก็หมดรอบ หรือจะแกว่งย้อนหลังก็ได้
10. ลิงชิงหลัก (LINE CHING LUK)
จำนวนผู้เล่น จำนวนผู้เล่น อย่างน้อย 3 คน
วิธีเล่น
ผู้เล่นคนหนึ่ง สมมุติว่าเป็น "สิงหลักลอย" ไม่มีหลักจับ อีก 2 คน เป็นลิงจับหลัก ผู้เป็นลิงหลักลอยต้องพยายามแย่งหลัก ในขณะที่ผู้เล่นทั้งหมดเปลี่ยนที่กัน ส่วนมากมักจะใช้สี่หลัก ผู้ที่เป็นลิงชิงหลักต้องคอยสังเกตดูว่าตนจะชิงหลักไหนได้สะดวก ก็รีบวิ่งไปชิงหลักนั้นไว้ ถ้าจับหลักได้ก่อน ผู้ที่มาช้าก็เป็นลิงหลักลอย คอยชิงหลักของคนอื่น บางคนทำท่าเปลี่ยนแล้วไม่เปลี่ยนเป็นการล่อหลอก ถือว่าเท้ายังยึดหลักอยู่ ผู้อื่นจะชิงไม่ได้
11. เสือข้ามห้วยเดี่ยว (SUA KHARM HUI DEO)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น
จับไม้สั้นไม้ยาว เลือกคนที่เป็นห้วย 1 คน และคนอื่นๆ กระโดดข้ามมีทั้งหมด 8 ท่า
ท่าที่ 1 เหยียดขา 1 ข้าง ข้างใดก็ได้
ท่าที่ 2 เหยียดขาทับบนข้างเดิม ให้ส้นเท้าต่อบนหัวแม่เท้า
ท่าที่ 3 เหยียดแขนข้างหนึ่งตั้งบนขาทั้งสองข้าง ให้นิ้วก้อยตั้งบนหัวแม่เท้า กางนิ้วห่างๆ กัน
ท่าที่ 4 เหยียดแขนอีกข้างหนึ่ง ต่อบนมือข้างเดิม ให้นิ้วก้อยตั้งบนหัวแม่มือของข้างเดิม
ท่าที่ 5 นั่งหมอบ
ท่าที่ 6 ชักเงี่ยง โดยใช้ข้อศอกข้างหนึ่งยักขึ้นยักลง
ท่าที่ 7 ชักเงี่ยงทั้งสอง ใช้ข้อศอกทั้งสองข้างยัก
ท่าที่ 8 ลุกขึ้นยืนก้มตัว ใช้ปลายนิ้วมือจรดนิ้วเท้า
12. เสือข้ามห้วยหมู่ (SUA KHARM HUI MOO)
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น
เหมือนกับเสือข้ามเดี่ยว แต่จำนวนผู้ที่เป็นห้วยเพิ่มมากขึ้น นั่งเรียงกันไป โดยเว้นระยะห่างพอสมควร ผู้ที่เป็นเสือต้องกระโดดข้ามให้พ้นหมดทุกด่าน ถ้าตายที่ด่านใดด่านหนึ่ง ทุกคนจะต้องตายหมด กลายมาเป็นห้วยแทนสลับกัน ส่วนเสือข้ามห้วยเดี่ยวนั้น ถ้าเสือข้ามพ้นทุกขั้น ผู้เป็นห้วยจะถูกลงโทษ โดยพวกเสือจะช่วยกันหามไปทิ้งแล้วิ่งกลับมาที่เล่น ผู้ที่เป็นห้วยต้องพยายามจับให้ได้ ถ้าจับคนใดได้ คนนั้นต้องมาเป็นห้วยแทน
13. วิ่งวัวหรือวิ่งเปี้ยว ( A RELAY RACE )
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆ กัน โดยปักหลัก 2 ข้าง หรือใช้คนนั่งเป็นหลักข้างละหลัก ระยะห่างประมาณ 50 เมตร มีกรรมการตัดสิน 1 คน เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองข้าง ต้องวิ่งล้อมหลักไล่ให้ทันกัน มือถือผ้าคนละผืน เมื่อถึงฝ่ายของตน ส่งผ้าให้คนต่อไป เป็นเช่นนี้จนวิ่งทันกัน ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่ถืออยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่ง ถือว่าฝ่ายนั้นชนะ

ความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
(Microsoft Windows)
เนื้อหาจะเป็นการแนะนำ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับเม้าส์ การกดปุ่มบนเม้าส์ ตลอดจนการเปิดโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมา การปิดโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อไม่ใช้งาน การแก้ไขเครื่องในกรณีเครื่องเกิดอาการ Hang การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
1. ตรวจสอบปลั๊กเสียก่อนว่า เสียบเรียบร้อยดีหรือไม่
2. ที่จอภาพ กดสวิทซ์ เพื่อเปิดจอภาพ
3. ที่ CPU. ด้านหน้า จะมีสวิทซ์ เพื่อเปิดเครื่อง (กดเบา ๆ )
4. เมื่อเปิดเครื่องแล้ว รอสักครู่ ที่จอภาพจะมีข้อความเพื่อตรวจสอบระบบต่าง ๆ
5. จากนั้น จะมีเสียง 1 ครั้ง
6. ที่หน้าจอภาพจะขึ้นคำว่า Windows เป็นการเริ่มต้นการใช้เครื่อง เพราะเครื่องจะต้องเรียกโปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า Windows เสียก่อน (จะใช้เวลาประมาณ 3 นาที)
7. จากนั้นหน้าจอภาพจะมีโปรแกรมต่าง ๆ อยู่ด้านซ้าย และด้านล่างจะมีแถบ Task Bar ให้เราทำงานได้
การเลิกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start
2. เลื่อนมาคลิ๊กที่คำสั่ง Shut Down
3. คลิ๊กปุ่ม Ok
4. รอสักครู่เครื่องจะเริ่มทำการปิดระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
5. จากนั้นเครื่องจะดับเอง
6. ยกเว้น จอภาพ ให้กดสวิทซ์ ปิดจอด้วย
ส่วนประกอบของหน้าจอภาพเมื่อเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว
1. ส่วนที่เป็นภาพฉากหลัง เราเรียกว่า ส่วนพื้นจอภาพ (Desk Top)
2. ด้านซ้ายของจอภาพ ส่วนที่เป็นรูปภาพ และมีคำบอกว่าเป็นโปรแกรมอะไร เรียกว่า (Icon) ลักษณะจะเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ที่วินโดวส์ จะนำมาไว้ที่จอภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ
3. ด้านล่างของจอภาพที่เป็นแถบสีเทา เราเรียกว่า (Task Bar) เป็นส่วนบอกสถานะต่าง ๆ โดยที่ด้านขวาของ ทาสบาร์ จะบอกเวลาปัจจุบัน สถานะของแป้นพิมพ์ว่า ภาษาไทย หรือ อังกฤษ โปรแกรมที่ถูกฝังตัวอยู่ ส่วนแถบตรงกลางจะใช้บอกว่า ขณะนี้เราเปิดโปรแกรมอะไรใช้งานอยู่บ้าง ด้านซ้ายของจอภาพ จะมีปุ่ม Start ใช้ในการเริ่มเข้าสู่โปรแกรมต่าง ๆ
การกดปุ่มบนเม้าส์ (Mouse) เม้าส์ในปัจจุบันจะมี 2 ปุ่ม ซ้าย และขวา ส่วนถ้าเป็นแบบล่าสุด จะมีปุ่มคล้าย ๆ ล้ออยู่ตรงกลางเพื่อใช้ในการเลื่อน ขึ้น และ ลง บนหน้าจอภาพ (Scroll Bar) ในการกดปุ่มบนเม้าส์นั้น จะมีวิธีกดปุ่มบนเม้าส์อยู่ทั้งหมด 4 วิธีคือ
1. คลิ๊ก (Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเลือกสิ่งต่าง ๆ บนจอภาพ
2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก (Double Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 2 ครั้ง ติดกันอย่างเร็ว ใช้ในการเปิดโปรแกรมที่อยู่ด้านซ้ายของจอภาพ
3. แดร๊ก (Drag) คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ ใช้ในการย้ายสิ่งต่าง ๆ
4. คลิ๊กขวา (Right – Click) คือการใช้นิ้วกลาง กดปุ่ม ขวา ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเข้าเมนูลัดของโปรแกรม (Context Menu)
การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน เช่น ต้องการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข (Calculator)
1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start ตรงแถบทาสบาร์ด้านล่างซ้ายมือ
2. เลื่อนเม้าส์เพื่อให้ลูกศรที่จอภาพ ชี้ที่คำว่า Program ตรงนี้ชี้ไว้เฉย ๆ ครับ ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
3. เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนก่อน แล้วเลื่อนขึ้นไปที่คำว่า Accessories ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
4. เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนอีก แล้วเลื่อนลงมาที่คำว่า Calculator
5. จากนั้นจับเม้าส์ให้ นิ่ง ๆ คลิ๊กเม้าส์ 1 ที (คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง)
6. กรอบต่าง ๆ จะหายไป แล้วเครื่องจะเปิดหน้าต่าง เครื่องคิดเลขขึ้นมา ถือว่าเสร็จขึ้นตอนการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข ขึ้นมาใช้งาน ครับ
การปิดโปรแกรม เครื่องคิดเลข
1. ที่หน้าต่างเครื่องคิดเลข (Calculator) ตรงด้านบน ขวา มือจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่ม
2. ให้เลื่อนเม้าส์ ไปที่ปุ่มที่ 3 ทางขวามือ (ปุ่มจะเป็นรูป กากบาท X ) เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปวางจะมีคำว่า Close
3. คลิ๊ก 1 ครั้ง เครื่องก็จะปิดหน้าต่างโปรแกรมเครื่องคิดเลขไป
การขยายหน้าต่างของโปรแกรมให้เต็มจอภาพ (Maximize)
1. ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊ก ปุ่มที่สอง เครื่องจะมีข้อความขึ้นมาว่า Maximize (แต่ถ้าหน้าต่าง ถูกขยายขึ้นมาอยู่แล้ว คำจะเปลี่ยนเป็น Restore ถ้าคลิ๊กลงไปจะกลายเป็นหน้าต่าง ขนาดปกติครับ)
2. จากนั้นเครื่องจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอ ส่วนใหญ่เราจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอเพื่อให้เห็นรายละเอียดในหน้าต่างมากขึ้นครับ
การลดขนาดหน้าต่างเป็น Icon ลงใน ทาสบาร์ หรือ การซ่อนหน้าต่าง (Minimize)
1. ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊กปุ่มที่เป็นขีด ลบ ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางจะขึ้นคำว่า Minimize
2. คลิ๊กลงไป 1 ครั้ง เครื่องก็จะซ่อนหน้าต่าง ลงไปไว้ด้านล่างตรงทาสบาร์
3. ที่ทาสบาร์จะมีคำเป็นลักษณะปุ่มเขียนว่า ซ่อนโปรแกรมอะไรไว้
4. แต่ ถ้าอยากเรียกขึ้นมาใช้งานตามเดิม ให้คลิ๊กที่ปุ่มด้านล่างที่ทาสบาร์ที่เราซ่อนเอาไว้ เครื่องก็จะเปิดหน้าต่างโปรแกรมที่เราซ่อนเอาไว้ ขึ้นมาใช้งานได้ตามเดิม
การปิดโปรแกรมที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ (Hang) อาการแฮงค์ คืออาการที่เราอาจจะเปิดโปรแกรมขึ้นมาหลายโปรแกรม แล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ทัน หรือเราอาจจะคลิ๊กเม้าส์หลายครั้ง ในขณะที่เครื่องกำลังประมวลผลอยู่ จนเครื่องทำงานไม่ทัน เลยเกิดอาการแฮงค์ ซึ่งอาการแฮงค์นี้จะทำให้เราไม่สามารถคลิ๊กอะไรที่จอภาพได้เลย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือ
1. ที่แป้นพิมพ์ ให้เรากดปุ่ม Ctrl + Alt ค้างไว้ แล้วอีกมือหนึ่ง กดปุ่ม Delete แล้วปล่อย
2. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง Task Manager ขึ้นมา
3. จากนั้น เราคลิ๊กที่โปรแกรมที่เราคิดว่าทำให้เครื่องแฮงค์
4. ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม End Task เครื่องจะปิดโปรแกรมนั้นทิ้งไป
5. ถ้าไม่มีการปิดโปรแกรมอื่นอีก ก็ให้เลือกปุ่ม Cancel ออกมา

เทคนิคการเรียน

หลักการที่สำคัญที่สุด คุมตัวของคุณเองให้ได้อย่างที่ต้องการจะเป็น แพ้ชนะอยู่ที่การสู้กับตัวเอง มิใช่สู้กับคนอื่นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะขาดไม่ได้ ความขยันอันไม่มีอะไรจะหยุดได้ทฤษฎีบท ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่สำเร็จมิได้ด้วยความเพียรสิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นหลักการควบคุมตัวเองทั้งสิ้น ลองด้วยตัวคุณเองแล้วจะรู้ว่า ผมไม่ได้โกหกคุณเลย (ถ้าคุณทำตามที่ผมว่ามาได้นะ ........ต้องได้ซิถ้าคุณจะทำจริง ๆ เพราะผมก็ทำมาแล้ว ....)มองขั้นตอนทั้งหมดสรุปย่อโดยรวม1. ควบคุมภาวะการหลับและการตื่นได้ดั่งใจ2. ออกกำลังสม่ำเสมอ เพื่อพลังกายที่สมบูรณ์แบบ3. อ่านหนังสือทุกวัน วันละ 2 ชม.(หรือตามที่คิดว่าเหมาะสมกับคุณ)4. นั่งสมาธิและทบทวนก่อนนอน และ ตื่นนอนทุกวัน คำอธิบายในแต่ละขั้นตอน และ รายละเอียดปลีกย่อย1. คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อนครับ. เช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกัน ให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือครับ. เพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยม และจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ครับ. ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยากครับ. 2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ ครับ.เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1 - 2 ชม.ก็เกินพอครับ. แต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องครับ. ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุดครับ. 3. ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรครับ. อย่างเช่นพี่จะ อ่านวันละ 2 ชม. แต่แบ่ง เป็น 4 ยกครับ. ครั้งละ 25 - 30 นาที และพัก 5- 10 นาที 4. อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะครับ. สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร 5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ เมื่อกี๊ครับ. ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ด ีให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่ครับ. 6. ต้องรู้วิธีเรียนในแต่ละวิชาครับ. เช่น คณิต + ฟิสิกส์ เน้นความเข้าใจเป็นอันดับ 1 เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ ครับ. เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้าง เช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่า where do you go .? อะไรเป็นต้น แล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาต่างด้าวยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะ ดังนั้นเรื่องศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งที ีก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่ sub title เป็นภาษาอังกฤษ 7. วิธีเรียนพวกวิชาที่ใช้ความเข้าใจ อันดับแรกต้องรีบศึกษาเนื้อหาทั้งหมดให้จบอย่างรวดเร็วครับ. ถามว่าอ่านจากไหน อย่ามองไกลครับ. แบบเรียนนั่นล่ะ อย่าเพิ่งไปมองพวกคู่มือ ถ้าเราอ่านแบบเรียนไม่รู้เรื่อง ก็อย่าไปหวังจะดูตำราอื่นเลยครับ. จากนั้นให้รีบหา แบบฝึกหัด มาทำในแบบเรียนนั่นล่ะให้ได้หมดก่อน จากนั้นค่อย เสาะหาตำราคู่มือที่คิดว่าเราดี อ่านแล้วเข้าใจอีกซักเล่มนึงมา อ่านเนื้อหาให้หมด อีกที แล้วทำแบบฝึกหัดในเล่มนั้นให้จบหมด . สำคัญคือความตั้งใจนะครับ. ต้องเข้าใจว่าเรา มีความรู้ในบทนั้น ๆ จบแล้ว ทำไมยังทำโจทย์บางข้อไม่ได้ พยายามคิด สุดท้ายไม่ออก ก็ดูเฉลย แล้วต้องตอบตัวเอง ให้ได้ว่าเราโง่ตรงไหน ทำไมทำไม่ได้ โจทย์ข้อนั้น ๆ เป็นเทคนิคเฉพาะหรือเปล่า ต่อไป ก็เสาะหาพวกข้อสอบต่าง ๆ มาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว ก็ ทำ ๆ ๆ จนเกิดรู้สึกว่า บรรลุ !!! ในเรื่องนั้น ๆ มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ สำเร็จเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้น หรือฝึกวิทยายุทธสำเร็จแบบนั้น มองโจทย์ปุ๊บ จะเกิดความคิด แปร๊บ ๆ ขึ้นมานึกออกทะลุหมด เมื่อนั้นรู้สึกแบบนี้เมื่อไร ให้รีบสรุปเนื้อหาบทนั้น ๆ ออกมา ในกระดาษขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว คูณ 4 - 5 นิ้วครับ. ใช้หน้าหลังเขียนให้พอให้ได้ใน 1 บทต่อ 1 แผ่น อาจจะมียกเว้นบางบท เช่น สถิติ อาจใช้ถึง 6 แผ่น หรือตรีโกณ 3 แผ่น ส่วนใหญ่ไม่เกินหรอกครับ. จากนั้นปาตำราบทนั้น ๆ ทิ้งไปเลยครับ. 8. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำอะไรก็ตามที่คือ ต้องมีความรู้ติดสมอง สามารถหยิบมาใช้การได้ทันทีครับ. ถ้าคิดจะเรียนเพื่อสอบนั่นก็แสดงว่า กำลังคิดผิดอย่างใหญ่หลวงครับ. เด็กสมัยใหมนี้ชอบคิดว่าเรียน ๆ ไปเพื่อสอบ สอบเสร็จก็เลิก นั่นเป็นเพราะผลพวงของระบบ แข่งในการศึกษาของไทยเราครับ. เด็กต้องสอบ Entrance เข้าต่อ ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกในการใฝ่รู้ ต้องเข้าใจว่าเราเรียนหนังสือนี่ ต้องถือว่าไม่มีใครมาบังคับเรา เราเรียนเพื่อตัวเราเอง เพื่อพัมนาสมองเราเอง พัฒนา มุมมองความคิดต่าง ๆ เพื่อให้เราเป็นยอดคนเอง สามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองหรือหลุดจากอ้อมแขน บิดามารดาเมื่อไร ต้องสามารถที่จะกล้าคิดและทำ พึ่งตัวเอง ยังชีพตัวองในสังคมนี้ได้ครับ. ดังนั้น จากข้อ 7. เราต้องบันทึกความรู้ที่เรารู้แล้ว ให้เป็นความรู้ยาวนานติดสมอง โดยทำดังต่อไปนี้ครับ. - ให้นึก ! โน๊ตย่อที่เราสรุปเอง อาทิตย์ละหน ติดต่อกัน ซัก 1 เดือนหรือ 4 อาทิตย์นึกนะครับ . ไม่ใช่เปิดดูถ้านึกไม่ออก แสดงว่าไม่ได้สรุปเองแล้วล่ะเปิดหนังสือ แล้วสรุปตามแหง ๆ จากนั้นให้ทิ้งห่างเป็น นึก 1 เดือนต่อครั้ง จนเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะนึกทะลุปรุโปร่งหมดแล้วให้เลิกครับ. ใกล้สอบค่อยว่ากันอีกที กระบวนการที่ว่านึกตั้งแต่ 1 อาทิตยืจนเลิกนึกนี่ คาดว่าไม่ตำกว่า 3 เดือนนะครับ. ใครน้อยกว่านี้ แสดงว่าโกหกตัวเองชัวร์ 9. กระบวนการสุดท้าย เป็นการเพิ่มพลังความมั่นใจในตัวเองซึ่งต้องกระทำติดต่อกันบ่อยๆ เรื่อย คือกระบวนการสอบแข่งขันครับ. ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้สอบแข่งซะแต่ ม.1 จนจบ ม.6 เลย จะทำให้เรารู้อันดับตัวเอง เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ครับ. เช่นเราอาจจะเรียนได้เกรดดี แต่พอสอบแข่ง จริง ๆล่ะ สู้เขาได้ใหม ทักษะในการทำข้อสอบ มีใหม เข้าห้องก็เดินหน้าลุยทำแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้ายเลยหรือเปล่า ก็พวก สมาคม โอลิมปิก หรืออะไรก็ตามที ทั้งสอบแข่งในโรงเรียน เช่น โรงเรียนจัดเอง หรือสัปดาห์ต่าง เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ โคงงงานวิทยาศาตร์ ตอบปัญหาภาษาไทย อังกฤษ ฯลฯ สุดท้ายทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าน้องคนไหนทำได้นะครับ. ซัก 1 - 2 ปี รู้ผลแน่ พี่รับรองได้ 100 % เลยว่าอย่างน้อยต้องอยู่ในอันดับ 1 - 3 ของชั้น แน่นอน อันดับระดับประเทศ ก็ไม่เกิน 50 อย่างมาก อ้อ ลืมบอกไปครับ. สิ่งสำคัญคือการอ่านล่วงหน้าครับ. ช่วงปิดเทอม ก็อ่านของเทอมหน้านู้นหรือ อยู่ ม.4 จะอ่านของ ม.6 ก็ได้นะไม่ผิด