ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้น่ะค่ะ เรามีความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับมาแบ่งปันกันชมและเรียนรู้/strong>>

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551


ยินดีต้อนรับทุกท่าน.........เข้ามาสู่ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะค่ะ.........

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ความหมายของอินเตอร์เน็ต


ความหมายของอินเตอร์เน็ตอินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกันคำว่า “เครือข่าย” หมายถึง1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต

">ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลาย ๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่น ๆ ดังนี้ด้านการศึกษา - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้นด้านธุรกิจและการพาณิชย์ - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน - ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ ( Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟร ี ( Freeware) เป็นต้นด้านการบันเทิง - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ - สามารถดึงข้อมูล ( Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยการติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกโดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย


">อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า " เครือข่ายไทยสาร" โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา"ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งเครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาและการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้นๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย ( กสท.) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า " ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต" หรือ ISP ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ( ISP) ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้

บริการบนอินเตอร์เน็ต


">บริการบนอินเตอร์เน็ต
อภิมหาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น ผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ ( Server) หรือ โฮสต์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายนั้น หรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้า และธุรกิจแทบจะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1। บริการด้านการสื่อสาร 2। บริการด้านข้อมูลต่างๆบริการด้านการสื่อสาร เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความรวดเร็วกว่าการติดต่อด้วยวิธีการแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก

บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์E-mail ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็วและสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้

บริการสนทนาออนไลน์


">สนทนาแบบออนไลน์ ( Chat) ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat ( ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัยโปรโตคอลช่วยในการติดต่ออีกโปรโตคอลหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็นโปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอเน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time

บริการกระดานข่าว

">บริการกระดานข่าวกระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด (คล้ายๆ กับระบบ Bulletin Board System หรือ BBS) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็น กลุ่มข่าว หรือ Newsgroup ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลปะ กลุ่มผู้สนใจ เพลงร็อค กลุ่มวัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ นอกจากนี้ก็มีกลุ่มที่สนใจในเรื่องของประเทศต่างๆ เช่น กลุ่ม Thai Group เป็นต้น การอ่านข่าวจากกลุ่มข่าวต่างๆ ใน Usenet (User Network) หรือ Newsgroup นั้นนับเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคนอื่นๆ ในระดับโลก ซึ่งมักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารกัน ซึ่งใน Usenet นี้ เราสามารถเลือกอ่านข้อความในหัวข้อที่เราสนใจ และฝากข้อความคำถามคำตอบของเราไว้บนกระดานข่าวนั้นได้ ถ้าเราไม่สนใจในกลุ่มข่าวสารที่เคยเป็นสมาชิกอยู่อีกต่อไป เราาก็อาจยกเลิกการเป็นสมาชิก ( Unsubscribe) ของกลุ่มข่าวนั้นและไปเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ แทนก็ได้ การเป็นสมาชิกและการบอกเลิกสมาชิกของกลุ่มข่าวต่างๆ นั้นรวมทั้งการใช้บริการ Usenet จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น กระดานข่าวที่น่าสนใจของไทยและมีสมาชิกร่วมในการสนทนามากที่สุดในปัจจุบันคือ กระดานข่าวพันทิพ ที่ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ใช้ที่มีความสนใจหลากหลายเช่น กระดานข่าวเทคนิคคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านระบบปฏิบัติการ ซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ สภากาแฟของคนชอบการเมือง ชอบด้านเครื่องยนต์กลไก และอื่นๆ อีกมากลองเข้าไปร่วมวงสนทนากันได้

บริการเข้าระบบระยะไกล

บริการเข้าระบบระยะไกล ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป ก็สามารถใช้บริการ Telnet เพื่อเข้าใช้งานเครื่องดังกล่าวได้เหมือนกับเราไปนั่งที่หน้าเครื่องนั้นเอง โดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ โปรแกรม Telnet นับได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตในแบบตัวอักษร ( Text mode) หน้าที่ของโปรแกรม Telnet นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ และใช้บริการสำเนาไฟล์ รับส่งอีเมล์ได้

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาในที่นี้จะกล่าวถึงประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตหลักๆดังนี้
1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งเป็นที่อยู่ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย1ฉบับ แล้วส่งไปยังที่อยู่นั้น ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet)
เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol
หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet)
เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat)
เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce)
เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
8.การให้ความบันเทิง(Entertain)
ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น

โทษของอินเตอร์เน็ต

โทษของอินเตอร์เน็ต
1.โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
• รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
• มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
• ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
• รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
• ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
• หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
• การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
• มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
• ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้

โครงการแก้มลิง


โครงการแก้มลิง"โครงการแก้มลิง" เป็นโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืช โครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ।ศ।๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนักและส่งผลกระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการกินอาหารของลิง หลังจากที่ลิงเคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้าง แล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน ให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิง สำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเล ด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไปสำหรับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิมประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลากประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ "แก้มลิง" มีลักษณะและวิธีการดังนี้๑। ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล๒। เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ๓। สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง๔। เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)

โครงการระบายน้ำเลียบถนน


โครงการระบายน้ำเลียบถนนบางพลี-ลาดกระบัง ถนนร่มเกล้า"...การจัดการควบคุมระดับน้ำในคลองสายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดระบบระบายน้ำในกรุงเทพมหานครนั้น สมควรวางระบบให้ถูกต้องตามสภาพการณ์และลักษณะภูมิประเทศซึ่งควรแบ่งออกเป็น ๒ แผนด้วยกันคือ แผนสำหรับใช้กับในฤดูฝนหรือในฤดูน้ำมากนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วมและเพื่อบรรเทาอุทกภัยเป็นสำคัญ แต่แผนการระบายน้ำในฤดูแล้งนั้น ก็ต้องจัดอีกแบบหนึ่งต่างกันออกไป เพื่อการกำจัดหรือไล่น้ำเน่าเสียออกจากคลองดังกล่าวเป็นหลัก..." พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘จากสภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หังทรงห่วงใยในความเดือดร้อนที่เกิดกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในกรุงเทพฯ ได้พระราชดำริการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไว้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้นนั้น ให้เร่งดำเนินการเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้ประโยชน์จากคลองที่อยู่ฟากฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯให้เป็นทางระบายน้ำ ส่วนในระยะยาว ให้ดำเนินการดังนี้ - จัดให้มีพื้นที่สีเขียวรอบ ๆ พื้นที่กรุงเทพฯ ให้สามารถแปรสภาพเป็นทางระบายน้ำและเป็นพื้นที่สำหรับเป็นทางไหลผ่านของน้ำที่ท่วมหลากเพื่อออกสู่แม่น้ำได้สะดวกมากขึ้น- สร้างสถานีเก็บกักน้ำตามจุดต่าง ๆ เช่น ตามบึงขนาดใหญ่- สร้างทำนบป้องกันน้ำจากด้านตะวันออก ไม่ให้ไหลเข้ากรุงเทพฯตลอดจน ขุดคลองหลักต่าง ๆ ในพื้นที่ด้านตะวันออก เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลลงสู่อ่าวไทย- ขุดลอกทางน้ำที่มีอยู่เดิม อาทิ คลองแสนแสบ คลองผดุงกรุงเกษม คลองกระจะ และคลองอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับคลองแสนแสบต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้เกิดน้ำท่วมหนักในกรุงเทพฯ อีกครั้ง ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ ฯ ตรวจพื้นที่น้ำท่วมและทรงแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ด้วยพระองค์เองถึง ๖ ครั้งด้วยกัน ๘ ตุลาคม เสด็จ ฯ โดยเฮลิคอปเตอร์ ทอดพระเนตรน้ำท่วมบริเวณซอยศูนย์วิจัย ลาดพร้าว บางกะปิ พระโขนงและสำโรง๑๙ ตุลาคม เสด็จ ฯ โดยเรือยนต์ของกองพันทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ไปตามคลองแสนแสบ เพื่อตรวจการก่อสร้างทำนบคลองแสนแสบตามพระราชดำริ๒๗ พฤศจิกายน เสด็จ ฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณซอยศูนย์วิจัย๑๔ พฤศจิกายน เสด็จ ฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรสภาพนั้าท่วมบริเวณเขตพระโขนงและแขวงบางนา๒๔ พฤศจิกายน เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณคลองพระยาราชมนตรีและทรง พระดำเนินลุยน้ำผ่านทุ่งนาไปยังประตูระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี เป็นระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร๒๗ พฤศจิกายน เสด็จ ฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณคลองลาดกระบังและคลองหนอง บอนผ่านตามแนวถนนบางพลกรมทางหลวงได้น้อมรับพระราชดำริ ด้วยการจัดเร่งระบายน้ำบนพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ให้ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยโดยเร็วที่สุด เพื่อมิให้น้ำสะสมจนท่วมขังก่อความเดือนร้อนต่อประชาชน โดยให้สำนักทางหลวง แขวงการทาง ดูแลขุดลอกคลองตามธรรมชาติที่ไหลผ่านทางหลวงให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะรองรับปริมาณน้ำให้ไหลผ่านได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้ประสานงานร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรุงเทพมหานคร กรมชลประทาน กรมเจ้าท่า ในการดำเนินงานขุดลอกคูคลอง การปรับปรุงประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำและขยายช่องทางน้ำที่ตีบตันแคบลง เพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธ์ภาพสามารถเร่งระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทยได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นพื้นที่รองรับน้ำที่ไหลบ่ามาจากทางด้านเหนือระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทยโดยแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนด้านทิศตะวันตก ในส่วนของด้านตะวันออกเป็นพื้นที่ลุ่ม มีคลองและแม่น้ำเส้นเล็กๆ เช่น แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง เป็นเส้นทางระบายน้ำแต่ความสามารถในการระบายน้ำมีข้อจำกัด ทำให้มักเกิดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ส่วนนี้ ต่อเนื่องลึกเข้าไปสู่พื้นที่ชั้นกลางและชั้นในของกรุงเทพฯ สาเหตุของน้ำท่วมในพื้นที่ด้านตะวันออกเพราะเป็นพื้นที่ลุ่ม อีกทั้งยังรองรับน้ำจากส่วนต่าง ๆ กัน ดังนี้ ๑. น้ำจากด้านเหนือ ไหลบ่ามาจากเขื่อนเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่จังหวัดลพบุรี ไหลข้ามพื้นที่ด้านตะวันออกลงสู่ทะเลทางด้านใต้ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางของน้ำค่อนข้างมาก เนื่องจากพื้นที่มีความลาดชันต่ำ ทำให้น้ำไหลได้ช้า จนเกิดการสะสมของปริมาณน้ำจำนวนมากในพื้นที่ กลายเป็นปัญหาน้ำท่วมขัง ปัจจุบัน กรมทางหลวงได้ขุดลอกท่อและโครงสร้างทางระบายน้ำตามรอยพระหัตถ์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งช่วยให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกำหนดให้น้ำเหนือที่ไหลจากด้านเหนือไหลเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ แยกใต้บริเวณอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ไหลลงสู่คลอง ๑๓ และ ๑๔ ซึ่งจะมีปริมาณน้ำส่วนหนึ่งไหลไปตามคลองรังสิตมาตามคลอง ๑๓ ผ่านพื้นที่เขตหนองจอกลงสู่คลองแสนแสบ แล้วเบี่ยงไปทางด้านตะวันออกลงสู่คลองนครเนืองเขตไหลลงแม่น้ำบางปะกงลงสู่ทะเลต่อไป สำหรับคลองที่มีการขุดลอกและปรับปรุงประตูระบายน้ำเพื่อรองรับเส้นทางระบายน้ำตามลายพระหัตถ์ ได้แก่ ปากคลอง ๓๓ ปากคลองลาดผักขวง ปากคลอง ๑ อ และท้ายคลอง ๑ อ การเสริมคันคลองลาดผักขวงและคลอง ๑ อ (บางส่วน) การปรับปรุงประตูน้ำพระธรรมราชา และการก่อสร้างประตูระบายน้ำกลางคลองรังสิตประยูรศักดิ์ การดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยให้ปริมาณน้ำจากด้านเหนือไม่ต้องไหลผ่านพื้นที่ลุ่มด้านตะวนออกของกรุงเทพฯ ทั้งหมด โดยน้ำส่วนใหญ่จะเร่งระบายลงสู่แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำปราจีน เพื่อระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทย๒. ปริมาณน้ำฝนและน้ำใช้น้ำทิ้งของอาคารบ้านเรือน โรงงานของประชาชนจำนวนมากในพื้นที่รับน้ำ (Catchment Area) ด้านตะวันออก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารโครงสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะการถมดินก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ (หนองงูเห่า) ทำให้กีดขวางการไหลของน้ำและสูญเสียพื้นที่รองรับน้ำกว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ ที่เคยใช้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำทางด้านฝั่งตะวันออก ก่อนที่จะค่อยๆ ระบายไหลไปตามคูคลองซึ่งมีขนาดเล็ก ความสามารถในการเร่งระบายมีจำกัด เช่น คลองลาดกระบัง คลองบางโฉลง คลองจระเข้ใหญ่ และคลองเสาธง ก่อนจะไหลสู่คลองสำโรง คลองชายทะเล ลงสู่อ่าวไทย และเนื่องจากความลาดชันของท้องคลองมีน้อย น้ำที่ไหลด้วย Gravity Flow จึงต้องใช้เวลานานในการไหลระบายลงสู่ทะเลด้านใต้ ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ ๒ ข้างคลอง ซึ่งเดิมมีโครงการพระราชดำริป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขังทางด้านตะวันออกนี้ ไหลเข้าท่วมพื้นที่ตัวเมืองสมุทรปราการและพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นกลาง ได้แก่ เขตดอนเมือง บางเขน บึงกุ่ม ลาดพร้าว บางกะปิ สวนหลวง ประเวศ พระโขนง และพื้นที่ใน เช่น คลองเตย ราชเทวี ปทุมวัน สาทร ป้อมปราบ พญาไทกรมทางหลวงจึงทำการก่อสร้างคันกั้นน้ำ ตั้งแต่ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงหมายเลข ๓) เลียบทางหลวงสายบางพลี-ลาดกระบัง สาย ๓๑๑๙ ร่มเกล้า ถนนนิมิตรใหม่ ถนนหทัยราษฎร์ และถนนสุขาภิบาล ๕ (สายไหม) สิ้นสุดบริเวณจุดบรรจบคลองสองสายใต้กับคลองหกวา ในส่วนของกรมชลประทาน ได้มีการศึกษาแนวทางเร่งการระบายน้ำ โดยการขุดอุโมงค์จากบริเวณชายทะเลอ่าวไทยลอดไปออกคลองสำโรง เพื่อดึงน้ำจากพื้นที่ตะวันออกให้ไหลลงสู่ทะเลด้านใต้ได้เร็วขึ้น๓. การขึ้น-ลงของน้ำทะเลอ่าวไทย ทำให้น้ำทะเลหนุนไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ด้านล่างบริเวณไกล้ทะเลขณะน้ำขึ้น และน้ำจากพื้นที่ด้านบนไม่สามารถระบายไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวก เกิดน้ำท่วมขังในด้านทิศตะวันออก กรมทางหลวงจึงได้ดำเนินการตามโครงการพระราชดำริแก้มลิง โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำ ดังนี้๓.๑ คลองตำหรุ ๒๔ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที๓.๒ คลองบางปลาร้า ๔๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที๓.๓ คลองบางปลา ๔๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที๓.๔ คลองเจริญราษฎร์ ๗๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที๓.๕ คลองด่าน ๒ ๒๔ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที๓.๖ คลองชลหารพิจิตร ๖๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีจากการดำเนินการในครั้งนี้ สามารถรวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระประสงค์จะให้พสกนิกรกรุงเทพฯ และปริมณฑล รอดพ้นจากภัยน้ำท่วม

โครงการปลูกหญ้าแฝก

โครงการปลูกหญ้าแฝก ".....การที่จะมีต้นไม้ไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การปลูกป่า และปลูกป่าบริเวณต้นน้ำซึ่งเป็นยอดเขาและเนินสูงนั้น ต้องมีการปลูกป่าโดยไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถนำไปใช้ได้ แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ดีแล้ว ท้องถิ่นก็จะมีน้ำใช้ชั่วกาลนาน...." พระราชดำรัส ๑๔ เมษายน ๒๕๒๐พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ของประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ลดลงอย่างรวดเร็ว พระองค์ท่านได้พยายามคิดค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้มากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะธรรมชาติดั้งเดิม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนึงถึงความสอดคล้องเกื้อกูลกันระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด ความเข้าใจถ่องแท้ถึงธรรมชาติและสภาวะตามธรรมชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติของพระองค์นั้น ทำให้เกิดแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรป่าไม้ซึ่งพระองค์ได้เสนอแนวคิดเรื่อง " ปลูกป่า ๓ อย่าง เพื่อประโยชน์ ๔ อย่าง" กล่าวคือเพื่อมิให้เกษตรกรเข้าบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ จึงควรให้ดำเนินการปลูกป่า ๓ อย่างเพื่อประโยชน์ ๔ อย่าง คือ ป่าสำหรับไม้ใช้สอย ป่าสำหรับเป็นไม้ผล และ ป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ป่าหรือสวนป่าเหล่านี้นอกจากเป็นการเกื้อกูลและอำนวยประโยชน์ใน ๓ อย่างนั้นแล้ว ป่าไม้ไม่ว่าเป็นชนิดใดก็จะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำและคงความชุ่มชื้นไว้ อันเป็นการอำนวยประโยชน์อย่างที่ ๔ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ "การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าพระทัยอย่างลึกซึ้งถึงวิถีธรรมชาติ โดยได้พระราชทานแนวคิดว่า บางครั้งป่าไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติ ขอเพียงอย่าเข้าไปรบกวนและทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากปล่อยไว้ตามสภาพชั่วระยะเวลาหนึ่ง ป่าไม้ก็จะขึ้นสมบูรณ์เอง การระดมปลูกป่าด้วยความไม่เข้าใจ เช่น ปอกเปลือกหน้าดินซึ่งมีคุณค่ามากออกไปและปลูกพันธุ์ไม้ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและระบบนิเวศบริเวณนั้น นอกจากต้นไม้ที่ปลูกจะตายโดยไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังทำลายสภาพแวดล้อมอีกด้วย แนวความคิดที่ลึกซึ้งนี้จึงเป็นที่มาของคำว่า "ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" ซึ่งเป็นที่ยึดถือกันในหมู่ผู้รู้ทั่วไป ภารกิจหลักของกรมทางหลวง คือการก่อสร้างและบำรุงทางหลวงทั่วประเทศ และการก่อสร้างทางหรือขยายทาง ในบางครั้งในบางพื้นที่นั้นจำเป็นต้องตัดต้นไม้ที่มีอยู่สองข้างทางเดิมออกบ้าง เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมากรมทางหลวงไม่เคยทอดทิ้งความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างทางแต่ละสายทางจะรักษาต้นไม้ที่มีอยู่เดิมไว้ให้มากที่สุด หากจำเป็นต้องตัดก็จะมีการปลูกเพิ่มเติม โดยมีแนวทางการปลูกต้นไม้สองข้างทางกำหนดเป็นแบบมาตรฐานไว้ในแผนงานก่อสร้างทางทุกสายทาง ซึ่งการปลูกต้นไม้ดังกล่าวนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมและภูมิสถาปัตย์แล้ว ยังทำให้เกิดความสวยงาม ร่มรื่น และเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย จากภารกิจดังกล่าว กรมทางหลวงยังดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่นอกเขตทางที่เป็นที่ดินสงวนซึ่งกระจายอยู่ในพื่นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในรูปแบบของการจัดทำเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและในลักษณะของสวนป่า เพื่อให้เกิดความร่มรื่น สวยงาม และเป็นการสร้างความเขียวขจีให้กับประเทศ และการดำเนินการอันสำคัญยิ่งสำหรับกรมทางหลวงก็คือ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังต่อไปนี้๑. โครงการปลูกซ่อมแซมต้นไม้ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ จากมติคณะรัฐมนตรี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้อนุมัติให้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชปีที่ ๕๐ ขึ้น โดยความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระทรวงคมนาคมและกรมทางหลวงได้เริ่มดำเนินการปลูกต้นไม้เพื่อร่วมโครงการดังกล่าว นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๓๗-๒๕๓๙ ตามแผนงานการปลูกป่าสองข้างทางหลวงแผ่นดินและทางรถไฟ โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกต้นไม้บริเวณสองข้างทางหลวงทั่วประเทศในสายทางต่าง ๆ รวมระยะทาง ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตร จำนวน ๑๕ ล้านต้น บนเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ ซึ่งในครั้งนั้นใช้ชื่อโครงการว่า " ป่าเขียวขจีสองข้างทางหลวง" โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ - สนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการปลูกต้นไม้รักษาสิ่งแวดล้อม- เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าตามนโยบายรัฐบาล- เพื่อให้ต้นไม้ให้ความร่มรื่น สวยงาม เป็นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า- เพื่อลดมลภาวะและป้องกันภัยธรรมชาติ- เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม๒. โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงมีพระชนมายุ ๗๒ พรรษา โครงการนี้กรมทางหลวงจัดทำขึ้นเพื่อปลูกต้นไม้ยืนต้นที่จะเติบโตเป็นต้นไหญ่ ให้ร่มเงา และมีดอกสวยงามตลอดสองข้างทางหลวงและในเกาะกลางบริเวณถนนที่จะเข้าสู่ตัวเมืองสำคัญและเข้าสู่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๖ รอบ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ๒ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒ จำนวน ๕๔๓,๙๒๕ ต้น ใน ๒๔๙ สายทาง ซึ่งกรมทางหลวงได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ในโครงการนี้แล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น ๗๑๒,๙๒๓ ต้น นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังมีโครงการปลูกต้นไม้เนื่องในวโรกาสสำคัญ ๆ เช่น โครงการปลูกต้นไม้สองข้างทางและในเกาะกลางถนน กำหนดระยะเวลา ๕ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๕ จำนวน ๓,๖๔๘,๗๗๙ ต้น ใน ๕๙๓ สายทาง โดยใน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ดำเนินการปลูกไปแล้ว ๑,๐๙๖,๙๓๗ ต้น ใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ปลูกไปแล้วจำนวน ๙๑๗,๒๗๐ ต้น และใน พ.ศ. ๒๕๔๓ ปลูกไปแล้วจำนวน ๗๔๗,๒๒๒ ต้นโครงการปลูกซ่อมแซมต้นไม้ในโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๖ จำนวน ๔,๗๙๖,๒๓๒ ต้น ใน๘๒๔ สายทาง ซึ่งใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ดำเนินการปลูกไปแล้วจำนวน ๑,๑๖๑,๕๓๒ ต้น และใน พ.ศ. ๒๕๔๓ ปลูกไปแล้วจำนวน ๑,๐๙๙,๒๒๕ ต้น โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติครบรอบ ๑๐๐ ปี สมเด็จย่า ณ บริเวณชุมทางต่างระดับพุทธมณฑลสาย ๒ โครงการปลูกต้นไม้ โครงการ ๙ นาที ๙ ล้านต้น เพื่อล้นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยร่วมกับกรมป่าไม้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่สำนักงานตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การปลูกต้นไม้ตามสถานที่ต่าง ๆ นั้น กรมทางหลวงได้คัดเลือกพันธุ์ไม้โดยยึดหลักความเหมาะสมกับพื่นที่ในแต่ละภาคของประเทศ เช่น สะเดา ขี้เหล็ก สักทอง มะขาม หางนกยูง ราชพฤกษ์ ต้นปีบ ทรงบาดาล เฟื่องฟ้า เป็นต้นตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา กรมทางหลวงได้ให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้พร้อม ๆ ไปกับการก่อสร้างและบำรุงรักษาเส้นทาง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นไม้บริเวณสองข้างทางและในพื้นที่ดินของกรมทางหลวงทั่วประเทศเป็นแหล่งป่าไม้ที่ให้ความร่มรื่น เขียวขจี ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นแก่แผ่นดิน เป็นการสืบสานแนวพระราชดำริในการปลูกป่าของ " พ่อของแผ่นดิน

โครงการทางคู่ขนาน

โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยบัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ และได้พระราชทานพระราชดำริในแนวทางตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลสำเร็จมาแล้วอย่างต่อเนื่อง " โครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้า " เป็นอีกหนึ่งโครงการพระราชดำริที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณที่ทรงมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจรและน้ำพระทัยอันเปี่ยมล้น ด้วยพระเมตตากรุณาที่ทรงมีต่อพสกนิกร เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่โรงพยาบาลศิริราชช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๓๘ ได้ทอดพระเนตรเห็นปัญหาการจราจรที่ติดขัดเป็นอย่างมากที่บริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ต่อเนื่องไปจนถึงถนนบรมราชชนนี จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าไปยังบริเวณสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ อีกทั้งยังทรงมีพระราชดำรัสเพิ่มเติมถึงการจราจรขาออกนอกเมืองตอนหนึ่งว่า"... หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้ จะมีประโยชน์มาก ...."จากแนวพระราชดำรินี้ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ( ร้อยเอกกฤษฏา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ) และปลัดกรุงเทพมหานคร ( นายประเสริฐ สมะลาภา ) มาประชุมร่วมกันเพื่อสนองพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการจราจรให้ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลการประชุมสรุปได้ว่า กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากแยกอรุณอัมรินทร์ถึงคลองบางกอกน้อย ระยะทางประมาณ ๓।๒ กิโลเมตร และกรมทางหลวงรับผิดชอบก่อสร้างจากคลองบางกอกน้อยไปจนถึงแยกพุทธมณฑลสาย ๒ โดยให้รูปแบบสะพาน เสาและคานมีลักษณะเป็นรูปแบบเดียวกันหมด เป็นระยะทาง ๙.๔ กิโลเมตรและจากบริเวณทางยกระดับสิรินธรไปจนเลยทางแยกพุทธมณฑลสาย ๒ อีก ๑ กิโลเมตร นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังได้ก่อสร้างขยายช่องจราจรระดับพื้นราบจากเดิมที่มี ๘ ช่องจราจร เพิ่มขึ้นเป็น ๑๒ ช่องจราจรพร้อมทั้งมีการปลูกต้นไม้ที่เกาะกลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบตามคำกราบบังคมทูล และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์เริ่มโครงการดังกล่าวในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๙ และเสด็จฯทรงเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๑ และทรงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯไปตามทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี หลังจากเสด็จพิธีตัดริบบิ้นแถบแพรเปิดทางแล้ว นายศรีสุข จันทรางศุ อธิบดีกรมทางหลวงสมัยนั้น ได้เล่าในภายหลังถึงพระกระแสรับสั่งว่าทรงมีพระราชดำรัสว่า " การก่อสร้างเส้นทางสายนี้ทำได้ยาก การจราจรมีปัญหา ๒ หน่วยงานร่วมกันทำดีมาก ทำสำเร็จได้ ขอชมเชย " นอกจากนี้ยังทรงถามถึงเรื่องทางระบายน้ำบนสะพานว่าทำอย่างไรและ " อยากถามอะไรหน่อย อยากรู้มานาน การระบายน้ำ ระบายอย่างไร " ซึ่งอธิบดีกรมทางหลวงได้กราบบังคมทูลถวายรายงาน จากนั้น ทรงพระกรุณาฉายภาพอธิบดีกรมทางหลวงและปลัดกรุงเทพมหานครที่ยืนคู่กัน ณ บริเวณ Joint ซึ่งเป็นที่ปลาบปลื่มแก่บุคคลทั้งคู่ยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเล่าว่า พระองค์เสด็จฯแปรพระราชฐานไปหัวหินตั้งแต่ถนนยังไม่ลาดยาง จนมีการพัฒนาเรื่อยมา ขณะนี้ สามารถเสด็จฯ ไปหัวหินได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นสำหรับรายละเอียดโครงการก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงนั้น เริ่มตั้งแต่ตอนชุมทางต่างระดับสิรินธร-แยกพุทธมณฑล กม.๓+๓๘๖ ถึง กม.๑๓+๒๐๐ บนทางหลวงหมายพิเศษหมายเลข ๓๓๘ สายบางกอกน้อย - นครชัยศรี ระยะทางประมาณ ๙.๔ กิโลเมตร โดยลักษณะโครงการเป็นสะพานยกระดับสูง ๑๕.๐๐ เมตร กว้าง ๑๙.๕๐ เมตร ขนาด ๔ ช่องจราจร แยกทิศทางไปกลับข้างละ ๒ ช่องจราจร กว้างช่องละ ๓.๕๐ เมตร มีทางขึ้นลง ๒ แห่ง นอกจากนี้ ยังขยายถนนในระดับพื้นล่างเพิ่มจาก ๘ ช่องจราจร แบ่งเป็น ๑๒ ช่องจราจร แบ่งเป็นช่องทางด่วน ๖ ช่องจราจร กว้างช่องละ ๓.๕๐ เมตร และทางคู่ขนานด้านละ ๓ ช่องจราจร กว้างช่องละ ๓.๐๐ เมตร พร้อมทั้งก่อสร้างสะพานกลับรถ ( U- Turn ) อีก ๒ แห่งเพื่อใช้กลับรถด้วยกรมทางหลวงเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเอง โดยว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ ๓ ราย คือบริษัทบุญชัยพาณิชย์ ( ๑๙๗๙ ) จำกัด ก่อสร้างตอนที่ 1 บริษัท พี พี ดี คอนสตรัคชั่น จำกัด ก่อสร้างตอนที่ ๒ และบริษัทอิตาเลี่ยนไทยดีเวล้อปเม้นต์ จำกัด ( มหาชน ) ก่อสร้างตอนที่ ๓ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๔,๔๖๑,๖๐๙,๖๘๐ บาท ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๖๐๐ วัน เริ่มต้นสัญญาวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ สิ้นสุดสัญญาวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๑ หลังจากที่โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าจากชุมทางต่างระดับสิรินธร - แยกพุทธมณฑลสาย ๒ แล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยระบายการจราจรจากพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ ผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สู่ถนนบรมราชชนนี ถนนสิรินธร ทางหลวงพิเศษสายบางกอกน้อย - นครชัยศรี ให้สามารถสัญจรไปมาด้วยความสะดวก รวดเร็วและมีความปลอดภัยยิ่งขี้น เนื่องจากมีช่องจราจรรองรับถึง ๑๖ ช่องจราจร และยิ่งเพิ่มความคล่องตัวให้กับยานพาหนะที่จะใช้เส้นทางนี้เดินทางสู่ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ระหว่างชานเมืองอื่น ๆ ในบริเวณดังกล่าว ให้มีการจราจรสะดวก คล่องตัวเป็นการช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและปัญหาสุขภาพจิตอันเนื่องมาจากการจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี และนี่คือความปลาบปลี้มและภาคภูมิใจของกรมทางหลวง ที่ได้มีโอกาสสนองพระกรุณาธิคุณพระบาทสทเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสร้างทางตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่งของกรุงเทพ ฯhttp://202.28.94.55/webcontest49/web/g46/main.html

โครงการถนนคร่อมคลองประปา

โครงการถนนคร่อมคลองประปาเป็นโครงการอเนกประสงค์อันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อให้ศึกษาสภาพคลองประปาในอนาคต เพราะหากชุมชนมีความหนาแน่น น้ำในคลองประปาคงสกปรก หรือขนาดของคลองอาจเล็กเกินไป สมควรศึกษาว่าตามแนวใต้คลองประปาจะสร้างเป็นท่อลำเลียงน้ำขนาดใหญ่ได้หรือไม่ หรืออาจย้ายโรงกรองน้ำสามเสนไปไว้ที่โรงสูบน้ำสำแล เพื่อผลิดน้ำประปาส่งเข้าระบบท่อลอดใต้คลองประปา ส่วนตามแนวคลองประปาหากทำเป็นถนนหรือระบบขนส่งมวลชน ๑-๒ ชั้น ผ่านตัวเมืองชั้นในออกไปสู่ชานเมืองได้ก็จะเป็นประโยชน์มาก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ขยายถนนเลียบคลองประปา ช่วงหน้าโรงกรองน้ำบางเขน-ถนนเลียบคลองรังสิต เป็น ๔ ช่องจราจร เพื่อเชื่อมต่อกับถนนประชาชื่น และใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ในการประชุมโครงการแก้ไขปัญหาจราจรตามแนวพระราชดำริ มีมติระงับโครงการถนนเลียบคลองประปาไว้ก่อน และให้กรมทางหลวงทำการศึกษา เรื่องรูปแบบโครงการถนนคร่อมคลองประปา จากนั้นในเดือนมีนาคม ๒๕๓๙ การประปานครหลวงได้สรุปความเป็นไปได้และผลกระทบของการปิดคลองประปาว่า สามารถทำได้ถ้าจำเป็น แต่จะทำให้คุณภาพของน้ำดิบด้อยลงกว่าปัจจุบันและมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำประปาสูงขึ้น ซึ่งในระหว่างการออกแบบนั้น ได้ขอให้กรมทางหลวงประสานงานกับการประปานครหลวงด้วย ต่อมาเมื่อ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๙ ในพระราชพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมว่า ถนนคร่อมคลองประปาควรเป็นลักษณะโครงสร้างคร่อมคลองประปา โดยทั้งหมดเป็นผิวจราจร ไม่จำเป็นต้องมีช่องแสง เพราะน้ำไหล จึงไม่เน่า มีหน้าต่างด้านข้างเปิดปิดได้ ภายในมีช่องทางให้เดินเข้าไปดูแลรักษาคลองประปาอาจทำเป็นลักษณะถนนคร่อมคลอง ๒ ชั้น ช่วงจากโรงกรองน้ำสามเสนถึงบางซื่อมีทางด่วนอยู่ข้าง ๆ ต้องปิดให้คลองประปาเป็นอุโมงค์ส่งน้ำเหมือนทุกเมืองในโลก และไม่ควรมีการเวนคืนที่ดินในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๐ กรมทางหลวงได้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างคร่อมปิดคลองประปา ที่มีความกว้างของคลอง ๓๔ เมตร โดยมีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เป็นที่ปรึกษา เดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า เศรษฐกิจของประเทศอยู่ระหว่างชะลอตัว เห็นควรให้ระงับโครงการไว้ก่อน กระทรวงคมนาคมจึงสั่งให้ชะลอโครงการนี้โดยให้กรมทางหลวงดำเนินการศึกษาโครงการต่อไป เพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อนำกราบบังคมทูลต่อมา ในเดือนกันยายน ๒๕๔๒ กรมทางหลวงได้จัดจ้างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย- รูปแบบโครงการที่เป็นไปได้ทางวิศวกรรมเบื้องต้น ได้แก่ ด้านจราจร งานทาง ชลศาสตร์ คุณภาพน้ำ โครงสร้าง และการก่อสร้าง- งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างสรุปและเสนอแนะในการดำเนินโครงการต่อไป จากนั้น กรมทางหลวงได้ประสานงานกับการประปานครหลวง เพื่อให้โครงการถนนคร่อมคลองประปาเป็นไปตามแนวพระราชดำริ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๔พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้า การก่อสร้างสะพานพระราม ๘ ความว่า"...บึงมักกะสันน้ำเน่า เพราะไม่ถูกแสงแดด แต่คลองประปาใช้หลักการเดียวกันไม่ได้ เพราะน้ำดีไหล ไม่มีวันเน่า ปัจจุบันเปิดไว้ ความสกปรกเข้าได้เต็มที่ ต้องปิด ทำเป็นอุโมงค์ส่งน้ำเข้ามา..."...เดิมทีที่เลิกโครงการ เพราะเกิดปัญหาเศรษฐกิจ ไม่มีเงิน ปัจจุบันอยากให้ทำ ประเทศอื่น แหล่งน้ำเอาไว้นอกเมืองแล้วส่งเป็นอุโมงค์เข้ามา ที่ประเทศเราตรงข้าม ให้ฝุ่นตะกั่วลงไป..."...ถ้ามีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ให้ทำน้ำสะอาดก่อนเข้า ต่อไปน้ำจะมาจากเขื่อนป่าสัก คุณภาพน้ำจะดีขึ้น ถ้าเอาน้ำสะอาดเข้ามา ระบบปิดจะไม่เพิ่มความสกปรก กรมทางฯ กับการประปา ลองไปศึกษาให้ดีถ้าระบบเปิดจะเพิ่มความสกปรก ทำถนน ๒ ข้างแล้วตรงกลางเป็นคลองประปา ความสกปรกยิ่งเข้ามากขึ้น..."จากการศึกษาและประสานงานกับการประปานครหลวง พอสรุปรูปแบบโครงการเบื้องต้นเป็น ๔ ช่วง คือ ๑. ช่วงโรงกรองน้ำสามเสน-โรงสูบน้ำบางซื่อ ระยะทาง ๑๓.๑ กิโลเมตร เป็นรูปแบบท่อส่งน้ำดิบด้วยแรงดัน ขนาด ๒ เมตร ๒ ท่อ และใช้พื้นที่คลองประปาเดิมเป็นช่องจราจรขาเข้าเมือง๒. ช่วงโรงสูบน้ำบางซื่อ-โรงกรองน้ำบางเขน ระยะทาง ๘.๖ กิโลเมตร เป็นรูปแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ปิดคร่อมคลองประปาซึ่งลดขนาดคลองเหลือ ๑๒ เมตร โดยใช้พื้นที่ด้านบนเป็นช่องทางรถมวลชน และใช้พื้นที่คลองประปาที่เหลือเป็นช่องจราจรขาเข้าเมือง๓. ช่วงโรงกรองน้ำบางเขน-คลองบางหลวง ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร เป็นรูปแบบโครงสร้าง คสล. ยกระดับปิดคลองประปา กว้าง ๓๐ เมตร โดยใช้พื้นที่ด้านบนเป็นผิวจราจรขาเข้าและออก๔. ช่วงคลองบางหลวง-ทางหลวงหมายเลข ๓๔๗ ระยะทาง ๕ กิโลเมตร เป็นรูปแบบถนน ๒ ข้าง ขนานกับคลองประปาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ คือ๑. ประโยชน์ด้านการประปา- ได้โรงสูบน้ำบางซื่อใหม่ และเปลี่ยนระบบส่งน้ำช่วงสามเสน-บางซื่อเป็นท่อแรงดัน- ได้คลองประปาแบบปิด ที่กันความสกปรกเข้าและสามารถเข้าไปดูแลรักษาได้ช่วงบางซื่อ-บางเขน- ได้ปิดคลองและขยายความจุคลองประปาช่วงบางเขน-คลองบางหลวง- ได้คันกั้นน้ำท่วม ไม่ให้น้ำเสียไหลลงคลองประปาช่วงคลองบางหลวง-สำแล๒. ประโยชน์ด้านจราจร- ทำให้โครงข่ายของโครงการจตุรทิศสมบูรณ์ยิ่งขึ้น- เสริมและประสานโครงข่ายถนนในพื้นที่- ช่วยแบ่งเบาภาระการจราจรบนเส้นทางตามแนวโครงการ- ได้ทางรถมวลชนเพื่อเสริมโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินhttp://202.28.94.55/webcontest49/web/g46/main.html

ภูมิปัญญท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
นาเด่ย ผศ । อาภรณ์ สุนทรวาท สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง นาเด่ยของบ้านผาปก นาเด่ยของบ้านถ้ำหินภาคฤดูร้อนปีการศึกษานี้คณะอาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ไปเก็บข้อมูลอัตลักษณ์ในรำกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นงานหนึ่งในโครงการของสำนัก การดำเนินงานได้เข้าไปศึกษาในพื้นที่ ที่บ้านบ่อหวี บ้านถ้ำหิน บ้านตะโกล่าง และบ้านผาปก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้เห็นและรับความรู้เรื่องราวของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ครั้งนี้จึงนำดนตรีที่เรียกว่า “ นาเด่ย ” ของคนกะเหรี่ยงบ้านผาปก และบ้านถ้ำหิน มาเล่าสู่กันฟังนาเด่ยเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่เป็นอัตลักษณ์ของคนกะเหรี่ยง ถ้าจะเปรียบเทียบกับดนตรีไทยทั้งลักษณะของเสียง และการเล่นนาเด่ยน่าจะเป็นประเภทเครื่องดนตรีไทยที่เรียกว่า “ พิณ ” ลักษณะนาเด่ยทำจากต้นไม้อะไรก็ได้ที่เป็นไม้อ่อนสามารถนำมาเหลา และกลึงให้เป็นรูปเหมือนกล่องรูปทรงรี มีก้านยาวโก่งและโค้งสูงขึ้นไป ที่ตัวนาเด่ยจะเจาะรูเป็นโพรงปิดผาด้วยโลหะบาง ๆและทำสายด้วยเส้นลวดมีสายตั้งแต่ ๖ - ๙ สาย นาเด่ยจะมีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ตามแต่ผู้ออกแบบจะทำออกมาคณะของเราได้เห็นได้ฟังการร้องเพลงประกอบการเล่นนาเด่ยของนายคีย์ล่า ซึ่งเป็นครูสอนรำกะเหรี่ยงให้กับชาวกะเหรี่ยงบ้านผาปก นอกจากจะมีความสามารถในการรำกะเหรี่ยงแล้ว นายคีย์ล่ายังร้องเพลงพร้อมกับเล่นนาเด่ยให้พวกเราฟังได้อย่างไพเราะจับใจ เมื่อถามความหมายของคำร้อง และทำนองที่เล่นนาเด่ย ได้คำตอบว่า “ เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย ” นายคีย์ล่า เล่าถึงว่า “ เคยไปร้องเล่นนาเด่ยเพลงนี้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อครั้งเรียกร้องประชาธิปไตยกับเพื่อน ๆ ชาวกะเหรี่ยงด้วยกัน ”และในวันต่อมา คณะของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ไปเห็น นาเด่ย อีกครั้งขณะไปเก็บข้อมูลที่พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี นายซันซุ่ยและผู้ประสานงานชาวกะเหรี่ยงได้ต้อนรับและประสานให้ครูสอนรำกะเหรี่ยงมีหลายคนมาให้คณะของเราสัมภาษณ์ พวกเขาได้ให้ความร่วมมือ และให้การต้อนรับเป็นที่ประทับใจ เมื่อถึงเวลาทานอาหารกลางวันพวกเราขอพักทานอาหารที่เตรียมมา นายซันซุ่ยจัดแจงอาสานำนาเด่ยบนหลังตู้นำมาเล่นและขับร้องให้พวกคณะของเราฟังและชมกัน ดูทุกคนในที่นั้นมีความสุข ทำนองและคำร้องต่างกันกับนายคีย์ล่า เมื่อถามความหมายได้คำตอบว่า “ ร้องให้หนุ่มสาวชาวกะเหรี่ยงฟังถึงความสำคัญที่คนชาวกะเหรี่ยงต้องมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อชีวิตของเราชาวกะเหรี่ยงด้วยกัน ”คำเรียก “ นาเด่ย ” เป็นการออกเสียงของกะเหรี่ยงโปว์ และเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันนี้ถ้าเป็นกะเหรี่ยงปกาเกอะญอจะเรียกว่า “ เตหน่า ” นาเด่ย หรือเตหน่า เป็นเครื่องดนตรีของชนเผากะะเหรี่ยงนอกจากจะพบเห็นที่จังหวัดราชบุรีแล้วยังพบว่ากะเหรี่ยงทางภาคเหนือของประเทศไทยยังมีการเล่น นาเด่ย หรือ เตหน่า ซึ่งเครื่องดนตรีต่างกันที่การทำสายด้วยเส้นลวดมีสายตั้งแต่ ๖ - ๗ สาย นักวิชาการกล่าวถึงการใช้เครื่องดนตรีนาเด่ย หรือ เตหน่า ทางภาคเหนือไว้ว่า “ ใช้สำหรับดีดและร้องเพลงประกอบ ใช้ในโอกาสมีเวลาว่างและเพื่อความสนุกสนาน โดยเฉพาะหนุ่มชาวปกาเกอะญอจะใช้เตหน่าในการเกี้ยวพาราสีสาวปาเกอะญอในยามค่ำคืน "

ภูมิปัญญาทางภาษามอญ

ภูมิปัญญาทางภาษามอญ

อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์(เชี่ยวชาญและมีความรู้ด้านภาษามอญ)อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ ชาวมอญบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันอายุ ๗๘ ปี ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ด้านภาษามอญเป็นอย่างดี ท่านได้เพียรพยายามแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญหลายฉบับ เป็นผู้หนึ่งที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง โดยเป็นความคิดของท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้นคือ ศาสตราจารย์ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเพื่อเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษาอยู่แล้วจึงจะสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อชุมชนชาวบ้านให้ถูกต้องตามหลักวิชาและมีความหมายต่อท้องถิ่นจริง ๆ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างชาวบ้านวัดม่วง และมหาวิทยาลัยศิลปากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขอความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีประสบการณ์ด้านพิพิธภัณฑ์จากหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากผู้เชี่ยวชาญการจัดพิพิธภัณฑ์จากกรมศิลปากร คณาจารย์จากคณะวิชาต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร แล้วจึงเข้าพบปรึกษากับท่านเจ้าอาวาส วัดม่วงและผู้นำชุมชนบ้านม่วง อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ เป็นผู้หนึ่งของชุมชนบ้านม่วงที่ใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาษามอญในการแปลภาษามอญ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเพณี วิถีชีวิตของชาวมอญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๓ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านวัดม่วง และในปัจจุบันท่านเป็นที่ปรึกษาของเจ้าอาวาสวัดบ้านม่วง และนักวิชาการทางศิลปวัฒนธรรม องค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรม และมีผลงานการแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญเป็นภาษาไทยหลายเรื่อง คือ๑. ตำรายาไทย๒. ตำราทำนายฝัน และนิมิตสังหรณ์สัตว์ภาษามอญ๓. ตำราปลูกสร้างบ้าน๔. ระเบียบวิธีปฏิบัติในการจัดงานพิธีต่าง ๆ ของชาวรามัญ๕. แปลจากคัมภีร์ "โลกสิทธิ" และ "โลกสมุตติ"๖. ฝึกพูดภาษามอญแบบพื้นบ้าน๗. รางสังหรณ์ ๑,๐๐๐ ประการ๘. ตำนานพระเจดีย์ร่างกุ้ง๙. วัฒนธรรมประเพณีมอญที่สำคัญ๑๐. ตำราหมอนวดมอญ ตำราเกิด - เจ็บป่วยทั้ง ๗ วัน คัมภีร์โลกหิตเพทวิชา๑๑. พระยากวางทองนิทานธรรมพื้นบ้านชาวมอญ๑๒. ปมาสี่ - สี่ แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างผลงานของท่าน ด้วยความรักสัญชาติมอญ ด้วยความศรัทธาในชนชาติ การนับถือพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นมาแต่อดีต และด้วยความสามารถในการอ่านภาษามอญโบราณและแปลภาษามอญโบราณเป็นภาษาไทยได้ อาจารย์จวน ได้เห็นคุณค่าของคัมภีร์ ใบลานภาษามอญที่มีอยู่มากมายในวัดม่วง เป็นที่น่าสนใจให้ศึกษาเรื่องราวของชาวมอญโบราณ ในครั้งแรกอาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ ได้แปล "โลกสมุตติ" และ "โลกสิทธิ" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของชาวมอญได้แปลเสร็จสิ้นแล้วก็ทำให้อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ อยากศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายเรื่อง ดังที่กล่าวมาแล้วนอกจากนี้แล้วท่านยังศึกษาค้นคว้าเรื่องประวัติชาวมอญมาอยู่ในประเทศไทย และรวบรวมเรียบเรียงเป็นรูปเล่มตั้งชื่อว่า "วิถีมอญ : สยาม"จากที่ท่านแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญหลายฉบับ และจากการรวบรวมเรียบเรียงเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวมอญนั้น มีนักวิชาการทางด้านศิลปวัฒนธรรมหลายท่าน ได้แก่ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดมศาสตราจารย์ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รศ.ปราณี วงษ์เทศ และอีกหลายท่าน ได้เลือกสรรบางเรื่องพิมพ์เผยแพร่ โดยเมืองโบราณเป็นผู้จัดทำ ได้แก่ เรื่อง "วิถีชีวิตชาวมอญ" จัดพิมพ์เผยแพร่ ๑,๐๐๐ เล่ม และ "ตำนานพระเจดีย์ร่างกุ้ง" จัดพิมพ์เผยแพร่ ๑,๐๐๐ เล่ม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงได้นำ เรื่อง "ตำราทำนายฝัน และนิมิตสังหรณ์สัตว์ภาษามอญ" จัดพิมพ์เผยแพร่จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม และ "ปมาสี่ - สี่" จัดพิมพ์เผยแพร่จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร ได้นำ เรื่อง "ประเพณีมอญที่สำคัญ" จัดพิมพ์เผยแพร่จำนวน ๑,๐๐๐ เล่มนอกจากนี้ รศ.ปราณี วงษ์เทศ ท่านเป็นบรรณาธิการจัดทำหนังสือ ลุ่มน้ำแม่กลอง : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ได้นำเรื่องที่อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ แปลมาจากคัมภีร์ใบลานภาษามอญโบราณ เรื่องวัฒนธรรมประเพณีชาวไทยรามัญ (มอญ) มาบันทึกข้อมูลไว้ในหนังสือเล่มนี้ มีเรื่องที่บันทึกไว้มีดังนี้๑. ประเพณีโกนผมไฟ๒. ประเพณีบรรพชาและอุปสมบท๓. ประเพณีการช่วยเหลืองานศพ๔. คัมภีร์โลกสมุตติและได้นำจดหมายที่อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ ตอบคำถามเกี่ยวกับประเพณีของชาวมอญ เรื่องประเพณีสงกรานต์ ให้กับเพื่อนของลูกที่กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี มาบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยนับว่าท่านมีประวัติผลงานที่แสดงถึงภูมิปัญญาด้านการแปลภาษามอญโบราณจากคัมภีร์ ใบลาน และได้รับการยอมรับจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะทางวัฒนธรรมของชาติ ท่านจึงเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดราชบุรี ท่านเป็นวิทยากรเผยแพร่วิชาการเกี่ยวกับประเพณีมอญ ให้กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย และ สถานศึกษาหลายแห่งในประเทศไทย และท่านยังเป็นที่ปรึกษานักวิจัยต่างประเทศที่เข้ามาทำวิจัยในประเทศไทยที่ท่านพอจำได้ และสามารถเก็บข้อมูลได้ คือ นักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคุณหมิงแม้ท่านจะมีอายุมากแล้วท่านก็ยังเป็นผู้ให้ความรู้ทุกครั้งที่มีผู้สนใจและผู้ศึกษางานด้านวัฒนธรรมของมอญมาโดยตลอดอย่างภาคภูมิใจท่านเป็นผู้หนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องลักษณะการบันทึกผลงานการแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญโบราณ ของท่านใช้วิธีเขียนด้วย ลายมือรวบรวมไว้เป็นเรื่อง เรื่องละเล่มด้วยความเชี่ยวชาญในการแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญโบราณ ท่านสามารถอ่านและแปลเป็นภาษาไทยได้เลยการถ่ายทอดผลงานของท่าน ได้ถ่ายทอดการแปลภาษามอญ การใช้ไวยกรณ์ภาษามอญ การอ่านภาษามอญ ให้กับอาจารย์อำไพ มัฆมาน ซึ่งอาจารย์ท่านนี้ จบการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านผู้นี้เมื่อได้รับความรู้จากอาจารย์จวนแล้ว ได้จัดการเรียนการสอนภาษามอญ ให้กับเยาวชนที่มีเชื้อสายมอญ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จัดการเรียนการสอนที่วัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี วันจันทร์ - ศุกร์ ในเวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๓๐ น. และวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.คุณค่า ประโยชน์ และความสำคัญของผลงาน อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ความรู้การแปลภาษามอญโบราณ ของอาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ เท่าที่ศึกษา ค้นคว้า มีไม่มากนักที่มีผู้เชี่ยวชาญในการแปลภาษามอญโบราณได้เชี่ยวชาญอย่างท่าน คัมภีร์ใบลานภาษามอญโบราณที่วัดม่วง และปัจจุบันนี้ได้อยู่ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงมีอยู่มากมาย การที่อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ มีความรู้ความสามารถในการแปลภาษามอญโบราณได้ จึงเป็นการสืบทอด และสามารถนำความรู้จากคัมภีร์ใบลานที่มีอยู่ออกมาเผยแพร่ให้เห็นถึงวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญโบราณ ทั้งในด้านความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทั้งประเพณีความเชื่อ และการทำมาหากิน ของชุมชนไทยเชื้อสายมอญ ผลงานของอาจารย์จวน จึงมีคุณค่าต่อนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย ตลอดจนนิสิตนักศึกษา สำหรับการศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้ยังสร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวไทยเชื้อสายมอญ และผลงานของท่านยังได้ทำให้เยาวชนชาวไทยเชื้อสายมอญ ได้รับการอบรมสั่งสอนในเรื่องภาษามอญ จารีตประเพณีของบรรพบุรุษ ดังนั้น อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ จึงเป็นผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน

ภูมิปัญญด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน

นายพิเชียร เชฏฐะ(หัตถกรรมพื้นบ้าน)นายพิเชียร เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนหัตถกรรมท้องถิ่นพื้นบ้านแบบใหม่ของประเทศไทย ผลิตตุ๊กตาผ้าทุกประเภทออกจำหน่าย เป็นผู้ริเริ่มตุ๊กตาผ้าราชบุรี ปัจจุบันพิเชียรแก้วเป็นศูนย์วัสดุอุปกรณ์การผลิตตุ๊กตาผ้าทุกประเภท ศูนย์การผลิตตุ๊กตา ศูนย์กลางให้ความรู้ด้านการผลิต และเป็นศูนย์กลางด้านการตลาด รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้านตุ๊กตาของบ้านกำแพง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม เกียรติคุณและรางวัล พ।ศ। ๒๕๓๕ นายพิเชียร ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ จากหนังสือพิมพ์เดลิมิลเลอร์ พ।ศ। ๒๕๓๗ ได้รับรางวัล ผู้นำอาชีพก้าวหน้า ของกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันศูนย์พิเชียรแก้วมีระบบการผลิตและการจำหน่ายที่พัฒนาตลอดเวลาทำให้ตำบลบ้านสิงห์เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ มีรายการโทรทัศน์หลายรายการมาถ่ายทำและนำแพร่ภาพออกอากาศไปทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานและบุคคลสำคัญมาเยี่ยมชมกิจการตลอดเวลา http://culture.mcru.ac.th/inter0414.html

ภูมิปัญญาด้านดนตรีไทย

ภูมิปัญญาด้านดนตรีไทย
ภูมิปัญญาด้านดนตรีไทย นายรวม พรหมบุรีท่านได้เริ่มศึกษาดนตรีไทยเมื่ออายุราว ๘ ปี จากสำนักดนตรีไทยวัดช่องลม ต่อมาได้ศึกษาดนตรีไทยเพิ่มเติมจากหลวงชาญเชิงระนาด (เงิน ผลารักษ์) และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จนมีความสามารถในการตีระนาดเป็นอย่างดี อายุ ๑๗ ปี ก็ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่วังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ที่กรุงเทพฯ แล้วย้ายไปอยู่ที่วังลดาวัลย์ จนถึง พ।ศ। ๒๔๘๑ จึงกลับมาบ้านเดิมที่จังหวัดราชบุรี วงการนาฏศิลป์และดนตรีไทยยุคนั้นขนานนามท่านว่า "ระนาดน้ำผึ้งแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง" เนื่องจากฝีมือในเชิงตีระนาดขจรขจายไปทั่วเมืองราชบุรีเมืองใกล้เคียงจากชื่อเสียงที่ปรากฏทำให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น (นาวาเอก สมภพ ภิรมย์) พาวงดนตรีไทยของท่านไปเฝ้าถวายตัวและบรรเลงเพลงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระตำหนักเปี่ยมสุข วันนั้นเป็นวันประวัติศาสตร์วันหนึ่งของวงการดนตรีไทย นายรวม พรหมบุรี ได้ถึงแก่กรรมเมื่อเดือนเมษายน พ।ศ। ๒๕๒๙ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ।ศ। ๒๕๒๙ ทุกวันนี้คณะดนตรีไทย ศิษย์ครูรวม ยังสืบทอดความเป็นระนาดน้ำผึ้งของครูอย่างต่อเนื่อง http://culture.mcru.ac.th/inter0405.html

ภูมิปัญญาทางการประพันธ์

ภูมิปัญญาทางการประพันธ์กาพย์ กลอน และข้อเขียนทางพุทธศาสนา
นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย เป็นคนจังหวัดราชบุรีโดยกำเนิด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมท้องถิ่น มีความสามารถทางการ
ประพันธ์ร้อยกรองและงานเขียนทางพุทธศาสนาอย่างสูง กาพย์เห่เรือผลงานของท่านโด่งดังไปทั่วประเทศไทย กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ บทประพันธ์ของท่านเข้าประกวดในโครงการเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ และได้รับรางวัลชนะเลิศ เป็นที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติของนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย ได้ใช้ในพระราชพิธีมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ ๕๐ มีกระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นกิจกรรมเห่เรือในงาน วันพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้ากฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ในวันที่ ๗
http://culture.mcru.ac.th/inter0402.