ภูมิปัญญาทางภาษามอญ
อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์(เชี่ยวชาญและมีความรู้ด้านภาษามอญ)อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ ชาวมอญบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันอายุ ๗๘ ปี ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ด้านภาษามอญเป็นอย่างดี ท่านได้เพียรพยายามแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญหลายฉบับ เป็นผู้หนึ่งที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง โดยเป็นความคิดของท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้นคือ ศาสตราจารย์ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเพื่อเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษาอยู่แล้วจึงจะสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อชุมชนชาวบ้านให้ถูกต้องตามหลักวิชาและมีความหมายต่อท้องถิ่นจริง ๆ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างชาวบ้านวัดม่วง และมหาวิทยาลัยศิลปากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขอความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีประสบการณ์ด้านพิพิธภัณฑ์จากหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากผู้เชี่ยวชาญการจัดพิพิธภัณฑ์จากกรมศิลปากร คณาจารย์จากคณะวิชาต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร แล้วจึงเข้าพบปรึกษากับท่านเจ้าอาวาส วัดม่วงและผู้นำชุมชนบ้านม่วง อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ เป็นผู้หนึ่งของชุมชนบ้านม่วงที่ใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาษามอญในการแปลภาษามอญ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเพณี วิถีชีวิตของชาวมอญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๓ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านวัดม่วง และในปัจจุบันท่านเป็นที่ปรึกษาของเจ้าอาวาสวัดบ้านม่วง และนักวิชาการทางศิลปวัฒนธรรม องค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรม และมีผลงานการแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญเป็นภาษาไทยหลายเรื่อง คือ๑. ตำรายาไทย๒. ตำราทำนายฝัน และนิมิตสังหรณ์สัตว์ภาษามอญ๓. ตำราปลูกสร้างบ้าน๔. ระเบียบวิธีปฏิบัติในการจัดงานพิธีต่าง ๆ ของชาวรามัญ๕. แปลจากคัมภีร์ "โลกสิทธิ" และ "โลกสมุตติ"๖. ฝึกพูดภาษามอญแบบพื้นบ้าน๗. รางสังหรณ์ ๑,๐๐๐ ประการ๘. ตำนานพระเจดีย์ร่างกุ้ง๙. วัฒนธรรมประเพณีมอญที่สำคัญ๑๐. ตำราหมอนวดมอญ ตำราเกิด - เจ็บป่วยทั้ง ๗ วัน คัมภีร์โลกหิตเพทวิชา๑๑. พระยากวางทองนิทานธรรมพื้นบ้านชาวมอญ๑๒. ปมาสี่ - สี่ แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างผลงานของท่าน ด้วยความรักสัญชาติมอญ ด้วยความศรัทธาในชนชาติ การนับถือพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นมาแต่อดีต และด้วยความสามารถในการอ่านภาษามอญโบราณและแปลภาษามอญโบราณเป็นภาษาไทยได้ อาจารย์จวน ได้เห็นคุณค่าของคัมภีร์ ใบลานภาษามอญที่มีอยู่มากมายในวัดม่วง เป็นที่น่าสนใจให้ศึกษาเรื่องราวของชาวมอญโบราณ ในครั้งแรกอาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ ได้แปล "โลกสมุตติ" และ "โลกสิทธิ" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของชาวมอญได้แปลเสร็จสิ้นแล้วก็ทำให้อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ อยากศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายเรื่อง ดังที่กล่าวมาแล้วนอกจากนี้แล้วท่านยังศึกษาค้นคว้าเรื่องประวัติชาวมอญมาอยู่ในประเทศไทย และรวบรวมเรียบเรียงเป็นรูปเล่มตั้งชื่อว่า "วิถีมอญ : สยาม"จากที่ท่านแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญหลายฉบับ และจากการรวบรวมเรียบเรียงเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวมอญนั้น มีนักวิชาการทางด้านศิลปวัฒนธรรมหลายท่าน ได้แก่ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดมศาสตราจารย์ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รศ.ปราณี วงษ์เทศ และอีกหลายท่าน ได้เลือกสรรบางเรื่องพิมพ์เผยแพร่ โดยเมืองโบราณเป็นผู้จัดทำ ได้แก่ เรื่อง "วิถีชีวิตชาวมอญ" จัดพิมพ์เผยแพร่ ๑,๐๐๐ เล่ม และ "ตำนานพระเจดีย์ร่างกุ้ง" จัดพิมพ์เผยแพร่ ๑,๐๐๐ เล่ม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงได้นำ เรื่อง "ตำราทำนายฝัน และนิมิตสังหรณ์สัตว์ภาษามอญ" จัดพิมพ์เผยแพร่จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม และ "ปมาสี่ - สี่" จัดพิมพ์เผยแพร่จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร ได้นำ เรื่อง "ประเพณีมอญที่สำคัญ" จัดพิมพ์เผยแพร่จำนวน ๑,๐๐๐ เล่มนอกจากนี้ รศ.ปราณี วงษ์เทศ ท่านเป็นบรรณาธิการจัดทำหนังสือ ลุ่มน้ำแม่กลอง : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ได้นำเรื่องที่อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ แปลมาจากคัมภีร์ใบลานภาษามอญโบราณ เรื่องวัฒนธรรมประเพณีชาวไทยรามัญ (มอญ) มาบันทึกข้อมูลไว้ในหนังสือเล่มนี้ มีเรื่องที่บันทึกไว้มีดังนี้๑. ประเพณีโกนผมไฟ๒. ประเพณีบรรพชาและอุปสมบท๓. ประเพณีการช่วยเหลืองานศพ๔. คัมภีร์โลกสมุตติและได้นำจดหมายที่อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ ตอบคำถามเกี่ยวกับประเพณีของชาวมอญ เรื่องประเพณีสงกรานต์ ให้กับเพื่อนของลูกที่กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี มาบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยนับว่าท่านมีประวัติผลงานที่แสดงถึงภูมิปัญญาด้านการแปลภาษามอญโบราณจากคัมภีร์ ใบลาน และได้รับการยอมรับจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะทางวัฒนธรรมของชาติ ท่านจึงเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดราชบุรี ท่านเป็นวิทยากรเผยแพร่วิชาการเกี่ยวกับประเพณีมอญ ให้กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย และ สถานศึกษาหลายแห่งในประเทศไทย และท่านยังเป็นที่ปรึกษานักวิจัยต่างประเทศที่เข้ามาทำวิจัยในประเทศไทยที่ท่านพอจำได้ และสามารถเก็บข้อมูลได้ คือ นักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคุณหมิงแม้ท่านจะมีอายุมากแล้วท่านก็ยังเป็นผู้ให้ความรู้ทุกครั้งที่มีผู้สนใจและผู้ศึกษางานด้านวัฒนธรรมของมอญมาโดยตลอดอย่างภาคภูมิใจท่านเป็นผู้หนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องลักษณะการบันทึกผลงานการแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญโบราณ ของท่านใช้วิธีเขียนด้วย ลายมือรวบรวมไว้เป็นเรื่อง เรื่องละเล่มด้วยความเชี่ยวชาญในการแปลคัมภีร์ใบลานภาษามอญโบราณ ท่านสามารถอ่านและแปลเป็นภาษาไทยได้เลยการถ่ายทอดผลงานของท่าน ได้ถ่ายทอดการแปลภาษามอญ การใช้ไวยกรณ์ภาษามอญ การอ่านภาษามอญ ให้กับอาจารย์อำไพ มัฆมาน ซึ่งอาจารย์ท่านนี้ จบการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านผู้นี้เมื่อได้รับความรู้จากอาจารย์จวนแล้ว ได้จัดการเรียนการสอนภาษามอญ ให้กับเยาวชนที่มีเชื้อสายมอญ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จัดการเรียนการสอนที่วัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี วันจันทร์ - ศุกร์ ในเวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๓๐ น. และวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.คุณค่า ประโยชน์ และความสำคัญของผลงาน อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ความรู้การแปลภาษามอญโบราณ ของอาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ เท่าที่ศึกษา ค้นคว้า มีไม่มากนักที่มีผู้เชี่ยวชาญในการแปลภาษามอญโบราณได้เชี่ยวชาญอย่างท่าน คัมภีร์ใบลานภาษามอญโบราณที่วัดม่วง และปัจจุบันนี้ได้อยู่ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงมีอยู่มากมาย การที่อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ มีความรู้ความสามารถในการแปลภาษามอญโบราณได้ จึงเป็นการสืบทอด และสามารถนำความรู้จากคัมภีร์ใบลานที่มีอยู่ออกมาเผยแพร่ให้เห็นถึงวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญโบราณ ทั้งในด้านความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทั้งประเพณีความเชื่อ และการทำมาหากิน ของชุมชนไทยเชื้อสายมอญ ผลงานของอาจารย์จวน จึงมีคุณค่าต่อนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย ตลอดจนนิสิตนักศึกษา สำหรับการศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้ยังสร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวไทยเชื้อสายมอญ และผลงานของท่านยังได้ทำให้เยาวชนชาวไทยเชื้อสายมอญ ได้รับการอบรมสั่งสอนในเรื่องภาษามอญ จารีตประเพณีของบรรพบุรุษ ดังนั้น อาจารย์จวน เครือวิชฌยาจารย์ จึงเป็นผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น